วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นายอนวัช มาละยะมาลี รหัสนักศึกษา 2561051542327 เทคโนโลยสารสนเทศ


การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
 (Electronic Data Interchange) : EDI

1.EDI (Electronic Data Interchange) คืออะไร ?
ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) คือ ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลเอกสารทางธุรกิจ ระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ค้าฝ่ายหนึ่งกับคอมพิวเตอร์ของผู้ค้าอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น จากผู้ค้าปลีกไปยังผู้เสนอขายสินค้าหรือจากผู้เสนอขายสินค้าไปยังผู้ค้าปลีก ในรูปแบบที่กำหนดเป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่าย มีความสอดคล้องกัน เอกสารทางธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อ, ใบกำกับสินค้า, ใบส่งของ ฯลฯ



2.ขั้นตอนการทำงานของระบบ EDI
1           - ผู้ส่งทำการเตรียมข้อมูล  และแปลงให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน UN/EDIFACT  Translation Software
2           - ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลไปยังศูนย์บริการ EDI ผ่านเครือข่ายสาธารณะโดยใช้ MODEM
3          -  ผู้ให้บริการ EDI จะจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ในตู้ไปรษณีย์  (Mailbox)  ของผู้รับข้อมูลไปถึงศูนย์บริการ
4           - ผู้รับมาติดต่อที่ศูนย์บริการผ่าน  MODEM  เมื่อรับข้อมูล  EDI ที่อยู่ในตู้ไปรษณีย์ของตัวเอง

5          - ผู้รับแปลงข้อมูลกลับโดยใช้  Translation  Software  ให้อยู่ในรูปแบบที่ระบบงานของตนสามารถรับไป
                ประมวลผลได้

      3.ตัวอย่างธุรกิจที่นำระบบ EDI มาใช้งาน

          ธุรกิจค้าปลีก
                       การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจ (Data Interchange) แต่เดิมนั้นบริษัทผู้ค้าปลีกและบริษัทซัพพลายเออร์ จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการจัดส่งเอกสารทางธุรกิจเพื่อทำการค้าระหว่างกัน นอกจากนี้ยังเกิดความผิดพลาดของเอกสาร เช่น การป้อนข้อมูลผิด หรือเอกสารส่งไม่ถึงผู้รับอีกฝ่ายหนึ่งทำให้เกิดความสูญเสียต่อบริษัท ดังนั้นธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันซึ่งมีการสั่งซื้อสินค้าเป็นประจำ และต้องจัดการกับเอกสารจำนวนมาก จึงนำระบบ EDI (Electronic Data Interchange) มาใช้ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำของข้อมูล

    4.ประโยชน์ของ EDI คืออะไร
       1.ช่วยลดข้อผิดพลาดของข้อมูล ปกติแล้วการป้อนข้อมูลเข้าระบบ มักจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
           แต่เมื่อนำระบบ EDI มาใช้สามารถทำให้ลดข้อผิดพลาดลงได้ 
       
2.ช่วยลดงบประมาณ  ในเรื่องของเอกสารและค่าจัดส่ง เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน รวมถึงค่าจัดส่งที่ส่งผิด และการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนขององค์กรเนื่องจากได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับองค์กร ถ้านำระบบ EDI มาใช้จะช่วยลดความผิดพลาดและทำให้ลดต้นทุนในส่วนของความผิดพลาดนั้นลดลง

3.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เนื่องจากบริษัทสามารถจัดการกับเอกสารธุรกิจได้ถูกต้องในเวลาอันรวดเร็วก็ทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนที่เกิดจากความผิดพลาด หรือต้นทุนที่เกิดจากสินค้าคงคลัง และเกิดความได้เปรียบจากการดำเนินงานที่รวดเร็วเพราะทำให้องค์กรจะไม่ต้องพบกับปัญหาในเรื่องสินค้าขาดสต็อกในร้านค้าปลีก
 4.ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการผสมผสานกันระหว่างข้อดีของการช่วยลดงบประมาณ และลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ดีที่มีอยู่ชนิดเดียวในเวลานี้  มันมีความเป็นไปได้ที่องค์กรระหว่างประเทศจะเน้นการนำเอาระบบ EDI มาใช้ในการติดต่อระหว่างบริษัทในเครือสมาชิก  ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทซึ่งเป็นผู้แข่งขันสามารถที่จะมีกระบวนการเทคโนโลยีที่สอดรับกับผลิตภัณฑ์  และนอกจากนั้นยังเป็นการเสนอการบริการที่ดีให้กับลูกค้าด้วย
5. เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า ซึ่งเมื่อเกิดความผิดพลาดทั้ง 2 ฝ่าย มักจะโต้เถียงกันว่าใครเป็นฝ่ายผิด และทำให้เกิดความสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย 

5.อธิบายความสัมพันธ์ของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ EDI
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจต่างๆมากมายหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นร้านค้า(Merchant)หรือการค้าขายบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็สามารถทำได้ง่ายและไวต่อการซื้อขายสินค้าทำให้ลูกค้า (Customer)เชื่อมั่นในการบริการเพราะการชำระสินค้าต้องผ่านการบริการของระบบการเงินหรือธนาคาร (Bank) ต่างๆ  ทำให้การใช้ชีวิตของเราสนุกและสามารถหารายได้กับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ EDI
        







วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ข่าวสารพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


ข่าวสารพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ปี 2550 และครั้งนี้เป็นการสำรวจครั้งที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบสถานภาพของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดนโยบาย วางแผนจัดหามาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และสามารถแข่งขันทางการค้าได้ในระดับสากลตลอดจนใช้ประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการพัฒนาที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันภาคเอกชนก็สามารถใช้ประโยชน์จากการสำรวจนี้เป็นแนวทางในการขยายตลาดการปรับตัวในการแข่งขันให้สอดรับกับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น






สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555 โดยส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติออกไปสัมภาษณ์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของสถานประกอบการ/ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทุกแห่ง (ยกเว้น ธุรกิจประเภทบริษัทหลักทรัพย์ และจัดการกองทุนรวม) ที่มีที่ตั้งแน่นอนหรือมีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์   แต่เนื่องจากสถานประกอบการและผู้ประกอบการบางรายไม่ให้ข้อมูล จึงต้องมีการประมาณค่าทางสถิติ เพื่อให้ข้อมูลที่นำเสนอเป็นค่าประมาณสำหรับประชากรที่อยู่ในขอบข่ายของการสำรวจ
ผลจากการสำรวจ   สรุปได้ดังนี้
1.  ลักษณะทั่วไปของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจ e-Commerce ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการประเภท B2C ร้อยละ 75.2 รองลงมาเป็นผู้ประกอบการประเภท B2B ร้อยละ 23.4 ส่วนผู้ประกอบการประเภท B2G ที่ไม่นับรวมการรับงานจัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐโดยการ e-Auction นั้นจะมีเพียงร้อยละ 1.4 เท่านั้น
ในภาพรวมของธุรกิจ e-Commerce ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม และรีสอร์ท (ร้อยละ 32.8) รองลงมาเป็นกลุ่มคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 14.5)  กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น เครื่องแต่งกาย อัญมณีและเครื่องประดับ (ร้อยละ 12.6)  กลุ่มธุรกิจบริการ (ร้อยละ 7.0)  กลุ่มยานยนต์และผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 5.5)  กลุ่มสิ่งพิมพ์/เครื่องใช้สำนักงาน (ร้อยละ 4.8)  ส่วนกลุ่มสินค้าประเภทอื่น ๆ (ร้อยละ 22.8)
หากจำแนกธุรกิจตามขนาด โดยใช้จำนวนคนทำงานเต็มเวลาเป็นเกณฑ์ พบว่า ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก (มีคนทำงาน 1-5 คน) ร้อยละ 57.9  ธุรกิจขนาดกลาง (6-50 คน)ร้อยละ 36.2  ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ (มีคนทำงานมากกว่า 50 คน) มีเพียงร้อยละ 5.9 เท่านั้น
ประมาณร้อยละ 77.1 ของธุรกิจ e-Commerce ทั้งหมด ขายสินค้าและบริการผ่านอิเล็กทรอนิกส์และมีหน้าร้าน ส่วนที่ขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์อย่างเดียว มีอยู่ร้อยละ 21.5 และอีกร้อยละ 1.4 ขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์ผสมผสานกับการขายในลักษณะอื่น  เช่น  ส่งพนักงานออกไปขายตรง หรือฝากขาย  เป็นต้น
2.  ผลการประกอบการ
ในรอบปีที่ผ่านมา (ปี 2554) ธุรกิจ e-Commerce มียอดขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้นประมาณ 783,998 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นยอดขายของผู้ประกอบการ B2B ประมาณ 291,209 ล้านบาท (ร้อยละ 37.2)  ผู้ประกอบการ B2C ประมาณ 99,706 ล้านบาท (ร้อยละ 12.7) และผู้ประกอบการ B2G ประมาณ 393,083 ล้านบาท (ร้อยละ 50.1)  โดยในส่วนของผู้ประกอบการ B2G ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ มูลค่าที่ได้จากการสำรวจซึ่งเป็นมูลค่าที่เกิดจากผู้ประกอบการทำธุรกิจ e-Commerce กับหน่วยงานภาครัฐที่ไม่ผ่าน e-Auction ประมาณ 5,034 ล้านบาท (ร้อยละ 0.6) และมูลค่าที่เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการประมูลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของภาครัฐ (e-Auction) ที่ได้จากกรมบัญชีกลางจำนวน 388,049 ล้านบาท (ร้อยละ 49.5)
ส่วนตลาดของธุรกิจ e-Commerce (ที่ไม่รวม e-Auction ของภาครัฐ) จะเป็นตลาดในประเทศประมาณร้อยละ 82.6 ของมูลค่าขายทั้งหมด ส่วนที่ขายไปยังตลาดต่างประเทศประมาณร้อยละ 17.4 (ตาราง 1)
ตาราง 1  มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในรอบปีที่ผ่านมา (ปี 2554)  จำแนกตามประเภทผู้ประกอบการ
การขาย                                   มูลค่า (ล้านบาท)                ร้อยละ
มูลค่าขายรวม                                 783,998                      100.0
B2B                                              291,209                       37.2
B2C                                              99,706                         12.7
B2G    1/                                      393,083                        50.1
จากการสำรวจ                                  5,034                          0.6
จาก e-Auction (กรมบัญชีกลาง)         388,049                       49.5
ตลาดที่ขาย        2/                         395,949                       100.0
ในประเทศ                                   327,199                          82.6
ต่างประเทศ                                   68.750                          17.4
หมายเหตุ :
1/ B2G เป็นมูลค่าที่ได้จากการสำรวจข้อมูลจากสถานประกอบการที่ทำธุรกิจ e-Commerce กับภาครัฐ ที่ไม่ผ่าน e-Auction รวมกับ มูลค่าที่เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ (e-Auction)ที่ได้จากกรมบัญชีกลาง
2/ ไม่รวมมูลค่าที่เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ (e-Auction)ที่ได้จากกรมบัญชีกลาง
สำหรับวิธีที่ใช้ในการดูแลลูกค้าของธุรกิจ e-Commerce พบว่า ส่วนใหญ่ ใช้เจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์ (Call Center) คิดเป็นร้อยละ 82.2  รองลงมาใช้อีเมล์หรือการส่งคำถามผ่านหน้าเว็บไซต์ คิดเป็นร้อยละ 68.0  ใช้ Social media เช่น facebook, twitter ร้อยละ 17.7  ใช้ระบบสนทนาลูกค้าแบบ Live Chat เช่น MSN, Skype, Gtalk ฯลฯ ร้อยละ 10.8

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ